ปิดทางหากินตำรวจ!เปิดร่างแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ อาญา ตรวจค้น จับกุม สอบปากคำต้องบันทึกภาพเสียง -อัยการมีอำนาจตรวจสอบคดีสำคัญหรือเมื่อมีการร้องเรียน 

เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2563  ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาเห็นชอบ รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง “การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้นสอบสวน และร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ที่มีนายสิระ เจนจาคะ เป็นประธานกรรมาธิการฯ และได้ส่งให้นายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบเป็นร่างกฎหมายก่อนเสนอเข้าสภาฯต่อไป

 

สาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวคือ ในการตรวจค้น จับกุม สอบปากคำผู้กล่าวหา ผู้ต้องหา  จะต้องบันทึกภาพเสียงเป็นหลักฐาน  อัยการมีอำนาจตรวจสอบคดีสำคัญหรือเมื่อมีการร้องเรียน  ตำรวจไม่รับแจ้งความ แจ้งให้อัยการสอบสวนได้ เป็นต้น

 

สำหรับเนื้อหาของ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..)

พ.ศ. …. มีรายละเอียดดังนี้

 

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๓/๑ และมาตรา ๑๗/๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

“มาตรา ๑๗/๑ ในการจับหรือค้น ให้เจ้าพนักงานผู้จับหรือค้นจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียง ซึ่งสามารถนำออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่อง เว้นแต่เป็นกรณีเร่งด่วนหรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันไม่อาจดำเนินการได้ ก็ให้เจ้าพนักงานนั้นบันทึกเหตุดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานในบันทึกการจับหรือบันทึกการค้น แล้วแต่กรณี

ภาพและเสียงอันได้จากการจับกุมหรือตรวจค้น ห้ามมิให้เผยแพร่ต่อสาธารณชน”

“มาตรา ๑๓/๒ ในชั้นจับกุมหรือระหว่างสอบสวน ห้ามมิให้เจ้าพนักงานนำผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา ออกแถลงข่าวหรือจัดให้บุคคลดังกล่าวให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน

ห้ามมิให้เจ้าพนักงานตามวรรคหนึ่งเผยแพร่ภาพหรือเสียงของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาต่อสาธารณชนหรือยินยอมให้บุคคลซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่บันทึกภาพหรือเสียงของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา หรือกระทำการอื่นใดอันมีลักษณะเป็นการประจานผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา”

มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๘๔ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

“มาตรา ๘๔ เจ้าพนักงานหรือราษฎรผู้ทำการจับต้องเอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๘๓ และแจ้งพนักงานอัยการมาตรวจสอบการจับกุมโดยทันที และเมื่อถึงที่นั้นแล้ว ให้ส่งตัวผู้ถูกจับแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจของที่ทำการของพนักงานสอบสวนดังกล่าว เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้”

มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๑๗/๑ แห่งประมวลกฎหมายวีธีพิจารณาความอาญา

“มาตรา ๑๑๗/๑ ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนีไปในระหว่างได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว มีให้นับระยะเวลาที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ หรือระยะเวลาการควบคุมตัวตามกฎหมาย

ในกรณีมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลย ถ้าจำเลยหลบหนีไปในระหว่างต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับ”

มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๒๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

“มาตรา ๑๒๑/๑ ในคดีดังต่อไปนี้ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าตรวจสอบ

การสอบสวนกับพนักงานสอบสวน

(๑) คดีที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป

(๒) คดีที่ผู้มีส่วนได้เสียในคดีร้องขอ

(๓) คดีอื่นตามที่กำหนตไว้ในกฎกระทรวงหรือข้อบังคับของสำนักงานอัยการสูงสุด

เมื่อไต้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง หากพนักงานอัยการเห็นสมควร ให้พนักงานอัยการเข้าทำการตรวจสอบการสอบสวนหรือตรวจสอบพยานหลักฐานตั้งแต่ชั้นเริ่มการสอบสวน โดยให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานอัยการในเรื่องที่เกี่ยวกับการสอบสวนคดีนั้น

หลักเกณฑ์และวิธีการในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงหรือข้อบังคับของสำนักงานอัยการสูงสุด

ในระหว่างที่พนักงานอัยการยังมิได้เข้าทำการตรวจสอบการสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนไปพลางก่อน และถือว่าการสอบสวนดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย

การสอบสวนตามมาตรานี้ ให้พนักงานสอบสวนป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ”

มาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗๒๗/๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

“มาตรา ๑๒๑/๒ ในคดีที่พนักงานสอบสวนไม่รับคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ หรือสอบสวนล่าช้าเมื่อผู้เสียหาย หรือผู้กล่าวหา หรือผู้ต้องหาร้องขอพนักงานอัยการที่มีเขตอำนาจอาจแจ้งให้พนักงานสอบสวนพิจารณาดำเนินการตานอำนาจหน้าที่ หรืออาจรับทำการสอบสวนเองก็ได้ตามที่เห็นสมควร

ในกรณีที่พนักงานอัยการรับทำการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนและเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ โดยอาจแจ้งให้พนักงานสอบสวนเข้าร่วมทำการสอบสวนได้ ทั้งนี้ ให้พนักงานอัยการเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ โดยในการค้น การจับ และการคุมขัง อาจร่วมกับเจ้าพนักงานตำรวจ หรือเจ้าพนักงานอื่น หรือแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจ หรือเจ้าพนักงานอื่นดำเนินการก็ได้”

การสอบสวนตามมาตรานี้ให้พนักงานอัยการเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ

เมื่อพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบในการสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้วให้ทำความเห็นตามมาตรา ๑๔๐ มาตรา ๑๔๑ หรือมาตรา ๑๔๒ พร้อมเสนอสำนวนไปยังพนักงานอัยการซึ่งมีอำนาจตามมาตรา ๑๔๓ และมาตรา ๑๔๔”

มาตรา ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคท้ายมาตรา ๑๒๓ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

“การร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายสามารถร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในเขตท้องที่ใดก็ได้ ถ้าความผิดที่ร้องทุกข์มิได้อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนนั้น ก็ให้รีบจัดการส่งคำร้องทุกข์ดังกล่าวไปยังพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจโดยเร็ว”

มาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๒๔/๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

“มาตรา ๑๒๔/๒ การยื่นหรือส่งคำร้องทุกข์ในลักษณะนี้อาจดำเนินการโดยทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ไดืกำหนดไว้ในกฎกระทรวง

มาตรา ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๓๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

“มาตรา ๑๓๖ การถามคำให้การหรือสอบปากคำผู้ร้องทุกข์ ผู้กล่าวโทษ และผู้ต้องหาในคดีที่มีข้อหาความผิดซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงซึ่งสมารถนำออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องไว้ เว้นแต่เป็นกรณีเร่งด่วนหรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันไม่อาจดำเนินการได้ ก็ให้พนักงานสอบสวนนั้นบันทึกเหตุดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานในสำนวนการสอบสวน”

มาตรา ๑๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๓๖/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

“มาตรา ๑๓๖/๑ ในคดีความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่สิบปีขึ้นไป หรือคดีที่มีความสำคัญโดยประการอื่น และพนักงานสอบสวนเห็นว่า ข้อเท็จจริงในคดีมีความสลับซับซ้อนและยากลำบากต่อการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ถึงการกระทำความผิด หากปรากฏว่ามีผู้ต้องหาคนหนึ่งคนใดให้การรับสารภาพและให้ข้อมูลสำคัญอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินคดีหรือพิสูจน์ความผิดของผู้บงการหรือผู้กระทำความผิดอื่นซึ่งเป็นตัวการสำคัญ พนักงานสอบสวนอาจเสนอความเห็นต่อพนักงานอัยการว่าควรกันผู้ต้องหานั้นไว้เป็นพยานในการดำเนินคดีกับผู้บงการ หรือผู้กระทำความผิดอื่นนั้นซึ่งเป็นตัวการสำคัญเมื่อพนักงานอัยการเห็นชอบ ให้จัดการดังต่อไปนี้

(๑) ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนผู้ต้องหานั้นไปยังพนักงานอัยการเพื่อฟ้องต่อศาล

(๒) ให้พนักงานอัยการบรรยายฟ้องให้ศาลทราบด้วยว่า จำเลยจะเป็นพยานสำคัญในคดีที่จะฟ้องผู้บงการ ตัวการสำคัญ หรือผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่น

(๓) ให้ศาลรอการกำหนดโทษจำเลยผู้นั้นไว้ก่อน จนกว่าจำเลยนั้นจะไปเป็นพยานในคดีที่ผู้บงการ ตัวการสำคัญ หรือผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่นถูกฟ้องเป็นจำเลยแล้ว และหากศาลเห็นว่าคำเบิกความของจำเลยนั้นเป็นข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งจนส่งผลให้ศาลในคดีดังกล่าวสามารถพิจารณาพิพากษาลงโทษบุคคลเหล่านั้นได้ ศาลจะลงโทษจำเลยผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้

ในกรณีที่พนักงานอัยการเห็นสมควรให้กันผู้ต้องหาเป็นพยานให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับ

โดยอนุโลม”

มาตรา ๑๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๔๒/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

“มาตรา ๑๔๒/๑ ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนในกรณีผู้ต้องหาถูกขังอยู่ตามมาตรา ๑๔๒ วรรคสามไปยังพนักงานอัยการ ดังนี้

(๑) ในกรณีความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงเกินกว่าหกเดือนแต่ไม่ถึงสิบปี หรือปรับเกินกว่าห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ให้ส่งสำนวนไม่น้อยกว่าสิบสองวันก่อนวันครบกำหนดขังผู้ต้องหาครั้งสุดท้าย

(๒) ในกรณีความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้ส่งสำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่วันก่อนวันครบกำหนดขังผู้ต้องหาครั้งสุดท้าย

ในกรณีที่มีเหตุขัดข้องอันสำคัญและจำเป็นที่ไม่สามารถทำการสอบสวนเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง หรือมีเหตุอื่นใดที่ทำให้ระยะเวลาในการขังผู้ต้องหาเปลี่ยนแปลงไป ให้พนักงานสอบสวนรีบแจ้งไปยังพนักงานอัยการเพื่อเข้าทำการตรวจสอบการสอบสวนทันที และขอคำแนะนำในการดำเนินคดีดังกล่าว เพื่อให้สามารถดำเนินการส่งสำนวนการสอบสวนได้อย่างครบถ้วนโดยเร็ว”

มาตรา ๑๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๔๓/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

“มาตรา ๑๔๓/๑ ในกรณีปรากฏพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงในสำนวนหรือผู้มีส่วนได้เสียร้องโดยมีพยานหลักฐานว่ามีบุคคลอื่นมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดในสำนวนใด ให้พนักงานอัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนบุคคลนั้นซึ่งปรากฏตามสำนวนว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดเป็นผู้ต้องหาเพิ่มเติมในสำนวนนั้นหรือเป็นอีกสำนวนหนึ่งก็ได้”

มาตรา ๑๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๙๓/๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

“มาตรา ๑๔๓/๒ ในกรณีพนักงานอัยการสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมตามมาตรา ๑๔๓ วรรคสอง (ก) นั้น หาพนักงานสอบสวนไม่ส่งผลการสอบสวนเพิ่มเติมภายในกำหนดระยะเวลา และเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่การดำเนินคดี ให้พนักงานอัยการมีอำนาจดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมคดีนั้นได้ ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร”

มาตรา ๑๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๔๕ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนี้

“มาตรา ๑๔๕ ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ฟ้อง และคำสั่งนั้นไม่ใช่ของอัยการสูงสุดให้รีบส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับคำสั่งไปเสนออัยการสูงสุดหรือผู้ที่อัยการสูงสุดมอบหมายเพื่อตรวจสอบและมีคำสั่ง แต่ทั้งนี้มิได้ตัดอำนาจพนักงานอัยการที่จะจัดการอย่างใดแก่ผู้ต้องหาดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๓

บทบัญญัติในมาตรานี้ให้นำมาบังคับในการที่พนักงานอัยการจะไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา หรือถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์และถอนฎีกาโดยอนุโลม”

มาตรา ๑๖ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๔๕/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา ๑๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๖๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

“มาตรา ๑๖๑/๑ ในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ หากความปรากฏต่อศาลว่า โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจำเลยหรือโตยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ ศาลจะมีคำสั่งยกฟ้องหรือไม่ประทับฟ้องนั้นก็ได้ และห้ามโจทก์ยื่นฟ้องคดีนั้นอีก คำสั่งเช่นว่านี้ไม่ตัดอำนาจพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่”

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

นายกรัฐมนตรี

About The Author