‘ของดีลำลูกกา’ ผับเถื่อน ค้า เสพยา ตำรวจไม่จับ ‘อธิบดีกรมการปกครอง’ ต้องจับแทน ผบช. ผบ.ตร.

ปัญหาร้ายแรงเรื่องหนึ่งซึ่ง พรรคเพื่อไทยและนายเศรษฐา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศไว้ในช่วงการ หาเสียงเลือกตั้ง ทั้ง แถลงเป็นนโยบายต่อสภาฯ ว่าจะจัดการแก้ไขอย่างจริงจัง คือ

Read More

‘ใบสั่งปีศาจ’ สั่งแล้วต้องจ่าย ‘ตามจำนวนที่กำหนด’ เจ้าพนักงาน ‘งดใช้ดุลพินิจ’ ปรับอย่างเป็นธรรม

ระยะนี้สังคมไทยได้มีปัญหา ผู้คนพูดจากันเซ็งแซ่เรื่องการอนุญาตให้มีและพกพาอาวุธปืน  เนื่องจากหลายกรณีได้มีผู้นำไปใช้ก่ออาชญากรรมร้ายแรงมากขึ้นทุกวัน 

Read More

‘การปกปิด’ ‘ไม่เปิดเผยพยานหลักฐาน’  เป็น ‘การสอบสวนที่ผิดกฎหมาย’ อัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดี

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ป.วิ.แพ่ง) เป็นกฎหมายที่บัญญัติวางหลักเกณฑ์  ขั้นตอนและวิธีการเกี่ยวกับการดำเนินคดีแพ่งในศาล ซึ่งบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งผู้พิพากษา คู่ความ ทนายความ บุคคลที่มีส่วนได้-เสียหรือเกี่ยวข้องกับคดีความทั้งหลาย ตลอดจนบุคคลที่ต้องใช้สิทธิทางศาลต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอนและวิธีการนั้น

Read More

วงเสวนา จี้นายกฯ เร่งสางปัญหาตำรวจ-งานสอบสวน ชี้ต้องแก้ที่ระบบให้โปร่งใส ตรวจสอบได้

วงเสวนา ‘กำนันนก’ ชำแหละ! ปัญหาตำรวจและการสอบสวนเป็นระบบที่ชั่วร้าย แฉ ‘ส่วย’ พัวพันการซื้อตำแหน่ง แนะไม่พึ่งคนแต่ต้องพึ่งระบบทำให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ ปฏิรูประบบสอบสวนให้อัยการลงเก็บพยานหลักฐานตั้งแต่ต้น จะไม่ตกเป็นเครื่องมือต่อรอง โอน ‘ตำรวจทางหลวง’ ไปสังกัดกรมทางหลวง หวั่นขึ้นบัญชีผู้มีอิทธิพลเพื่อกำจัดคู่แข่ง จี้ นายกฯเศรษฐา เร่งสางปัญหาด่วน

เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2566 ที่สำนักงานชั่วคราว สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย อาคารบางซื่อจังชั่น ชั้น 7 ถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา’35 สถาที่สาม และสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (สป.ยธ.) จัดเสวนาวิชาการ หัวข้อ “กำนันนก” สะท้อนวิกฤติปัญหาตำรวจและการสอบสวน “นายกฯเศรษฐา” ควรพัฒนา หรือ ปฏิรูป อย่างไร?

โดยนายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวตอนหนึ่งว่า ปัญหาเรื่องส่วยเป็นปัญหาอมตะนิรันดร์กาล ถ้าไม่เปลี่ยนโครงสร้างก็จะเป็นแบบนี้ตลอดไป ตำรวจที่จบจากโรงเรียนนายร้อยได้รับการอมรมฝึกฝนมาดี เมื่อออกมาปฏิบัติหน้าที่ก็ถูกชักชวนให้ “รับส่วย” เมื่อไม่รับก็จบชีวิตเหมือน”สาวัตรแบงก์” ไม่อยากให้มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก อยากให้นายกฯ เอาวิกฤตเป็นโอกาสแก้ช่วงนี้จะไม่มีใครคัดค้าน ปรับโครงสร้างตำรวจ ปรับเงินเดือนสวัสดิการให้เพียงพอ ให้ตำรวจดำรงด้วยศักดิ์ศรีตำรวจ

นายอภิชาติ กล่าวว่า ทราบมาว่า วันที่ 20 ก.ย. ที่ผ่านมาจะไม่มีสะติกเกอร์แล้ว จะทำเป็นโพยโดยมีการรวบรวมทะเบียนรถบรรทุกอยู่ที่มือของตำรวจ โดยไม่ต้องมีสัญลักษณ์ เพื่อไม่ให้มีการตรวจสอบ ตนต่อสู้เรื่องส่วยมาหลายปีจนมีเสียงข่มขู่ “อยากทานข้าวผ่านธูปไหม” ตนขอบอกว่าไม่กลัว ถ้ารัฐบาลทำเรื่องนี้จะเป็นฐานเสียงให้พรรคเพื่อไทย และยืนยันว่าเหตุการณ์ยิงสารวัตรแบงก์ บ้าน “กำนันนก” มาจากการจ่ายส่วยเต็มๆ นอกจากส่วยน้ำหนักแล้วทุกวันนี้ยังมีส่วยอุปกรณ์แต่งซิ่งต่างๆด้วย

“การแก้ปัญหาต้องแก้ที่ระบบ ถ้าตำรวจไม่ตายการเสียชีวิตของ พ.ต.ต.ศิวกร คงสลายไปแล้ว ส่งสารไปยังผู้นำประเทศต้องปฏิรูปความคิดผู้นำตัวองก่อนให้เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้ว ตำรวจน้ำดียังมีอีกเยอะ ถ้าอยากชนะใจประชาชนต้องให้องค์กรที่ใกล้ชิดประชาชนทำเพื่อประชาชน ถ้านายกฯหยิบปัญหาที่เกิดขึ้นมาดูผู้ใต้บังคับบัญชาก็จะนำไปแก้ไข ตำรวจยังฆ่าได้แล้วประชาชนจะเป็นอย่างไร ต้องให้ทำปัญหาส่วยให้หมดไป” นายอภิชาติ กล่าว

ด้านนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ส่วยรถบรรทุกพัวพันซื้อขายตำแหน่ง ทำให้ตำรวจที่ดีมีความรู้ความสามารถไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง ตำรวจที่โรงพักรู้ดีนายที่เข้ามาเป็นหัวหน้ามาด้วยฝีมือ ความสามารถ หรือว่า “นายใคร” มาอย่างไรเข้ารู้อยู่แล้ว เพราะแต่ละโรงพักมีแม่บ้านรู้สถานที่รีดไถ จะถูก ผกก.เรียกมาพูดคุย ถ้าที่ผ่านมาไม่มีการเปิดเผยเรื่อง ส่วย การเสียชีวิตของ สารวัตรแบงก์ จะถูกตีเป็นเรื่องเมาแล้วทะเลาะวิวาท จะไม่โยงถึงเรื่องส่วยแน่นอน การเปิดเผยเรื่องส่วยเป็นเรื่องที่ดี ตำรวจที่ดีมีประชาชนเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็ก

“การที่รัฐบาลมาทำเรื่องปราบปรามผู้มีอิทธิพล ปราบปรามาเฟีย ที่ จ.นครปฐมกำนันนกเป็นแค่เจ้าพ่อบริวารเท่านั้น เป็นห่วงการทำบัญชีเจ้าพ่อจะเป็นการขจัดคู่แข่งเจ้าพ่อเท่านั้น เอาหลักเกณฑ์อะไรวัดว่าผู้มีอิทธิพล กลัวว่าจะเป็นกลไกกำจัดคู่แข่งมากกว่า การขึ้นบัญชีมาเฟียทั่วประเทศจะเป็นการเชื่อมตรงไปอำนาจส่วนกลาง เมื่อสายตรงเชื่อถึงส่วนกลางตำรวจระดับกองบัญชาการ กองบังคับการ แล้วตำรวจสุจริตจะทำอย่างไร ทำลายระบบไปหมด”

นายวิโรจน์ กล่าวต่อว่า การเปลี่ยนแปลงจะต้องเปลี่ยนที่ระบบ ระบบดีจะผลิตคนดีต่อๆกันได้ ระบบดีจะสร้างคนดี ถ้าเอาคนดีไปอยู่ในระบบที่ฟอนเฟะก็เปลี่ยนคนดีหมดไฟ นอกจากเปลี่ยนระบบแล้วสิ่งสำคัญในสภาคือการแก้ไขกฎหมายที่ล้าสมัย พ.ร.บ.สถานบันเทิงเก่ามากหลายสิบปีให้สอดรับสมัยมากขึ้น โซนนิ่งไม่จริงห้ามใกล้วัด ใกล้โรงเรียน ถ้าเอากฎหมายเข้าว่าผิดหมด อีกอย่างที่แก้ปัญหาส่วยที่ต้องจัดการคือการซื้อ-ขายตำแหน่ง ถ้าแก้ได้จะเป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกันกับ กต.ตร. ต้องถูกเปลี่ยนให้ภาคประชาชนที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาตรวจสอบคานอำนาจกับตำรวจ แต่ทุกวันนี้ตำรวจนำตำแหน่งไปประเคนให้ผู้ที่มีผลประโยชน์มานั่งเป็น กต.ตร.

ส่วน ดร.น้ำแท้ มีบุญสล้าง ผอ.สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาการสอบสวนและการดำเนินคดี สำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงปัญหาส่วย ว่า ส่วยไม่ได้มีแค่รถบรรทุก ยังมีการพนัน แรงงานต่างด้าว ยาเสพติด สิ่งผิดกฎหมายสารพัดต่างๆ ส่วยมีไว้เพื่อแลกกับการไม่ดำเนินคดี ข้าราชการดูแลกฎหมายหรืทรัพยากรอะไรก็จะเรียกเงินจากหน้าที่นั้นเพื่อเอาเงินไปเพื่อซื้อตำแหน่ง เมื่อได้ตำแหน่งไปก็มาถอนทุนคืนด้วยการบิดเบือนพยานหลักฐานปกป้องละเว้นการดำเนินคดีธุรกิจผิดกฎหมายเหล่านั้นไม่ทุบหม้อข้าวตนเอง การทำคดีหลายๆคดี จะไม่สามารถได้ความจริงจากโจรในเครื่องแบบเหล่านี้เปรียบเสมือนประชาชนเอากระบวนการยุติธรรมไปฝากไว้ในมือโจร

“หัวใจการทำคดีให้ตรงไปตรงมาคือต้องรักษาพยานหลักฐานให้ได้ แต่ทุกวันนี้เอาพยานหลักฐานและอำนาจการดำเนินคดีไว้ในมือคนเก็บส่วย ต้องแก้ไขโดยให้หน่วยงานอื่นๆสามารถไปตรวจสอบพยานหลักฐานได้ ที่ผ่านมาโจรมักจะอ้างว่าเป็นความลับในสำนวน แท้จริงคือเอาความไม่รู้นั้นไว้ต่อรอง ในต่างประเทศเจ้าหน้าที่โดยอัยการจะอนุญาติให้ตำรวจเปิดเผยพยานหรือหลักฐาให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้ต้องหามีโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ส่งผลดีทำให้ประชาชนเชื่อมั่นกระบวนการยุติธรรมที่โปร่งใส ประชาชนไม่กล้าทำผิดเพราะลงโทษจริงจัง กระบวนการยุติธรรมนั้นจะต้องบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งได้ความยุติธรรมตามความเป็นจริงและได้ความเชื่อมั่นจากประชาชน เมื่อมีระบบตรวจสอบถ่วงดุลที่ชัดเจนโดยมีหลายหน่วยงานสามารถตรวจสอบความแท้จริงของพยานหลักฐาน หน่วยที่ทำคดีก็จะโกงหรือบิดพริ้วไม่ได้ ถึงจ่ายส่วยให้ไปก็โกงคดีไม่ได้ ส่วยจะหายไปเพราะไม่มีคนจ่าย ”

ดร.น้ำแท้ กล่าวว่า การแก้ปัญหาต้องไม่หวังพึ่งคน แต่ควรหวังพึ่งระบบ คนดีก็เติบโตโยกย้ายไป หรือแก่ เจ็บ ตาย หรือจะรักษาความดีได้ไปตลอดไหม จงอย่าเชื่อคนดี แต่ให้เชื่อระบบที่ดีตรวจสอบได้และโปร่งใส คนเลวจะทำชั่วไม่ได้ คดีกำนันนก อัยการควรต้องลงไปดูการเก็บพยานหลักฐานและรับรู้การมีอยู่ของพยานหลักฐานต่างๆ เพื่อป้องกันการแต่งนิยายสอบสวน คนที่จะสั่งฟ้องและสืบพยานให้ศาลลงโทษจำเลยกลับไม่เห็นพยานหลักฐานอะไรเลยตั้งแต่วันแรก เชื่อว่าการปฏิรูปไม่เกิดขึ้นในมือของคนที่คดโกงเพราะรับราชการก็โกงกินกันมาทั้งชีวิต หมาเคยกินขี้ก็กินขี้วันยังค่ำ วิธิแก้ต้องเลือกคนที่ใสสะอาดมาบริหารบ้านเมืองภายใต้ระบบที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ปัญหาจะไม่หมดถ้าผู้นำประเทศไม่มีเจตจำนงจะแก้ปัญหาทุจริตนี้

“ตำรวจเป็นหนึ่งในกระบวนการยุติธรรม ตนมีเพื่อเป็นตำรวจ เล่าให้ฟังว่าก่อนที่จะขอไปลงพื้นที่ไหน จะต้องคำนวณรายได้จากส่วยต่อปีว่าคุ้มกับราคาที่จะจ่ายเพื่อซื้อตำแหน่งหรือไม่ ในพื้นที่นั้นมีสิ่งผิดกฎหมายอะไรจะที่เก็บถอนทุนได้บ้างและคุ้มไหม แล้วเงินส่วยที่จ่ายเพื่อซื้อตำแหน่งนั้นก็ขึ้นไปถึงผู้บริหารประเทศแล้วมันจะปฏิรูปได้อย่างไร ส่วยเป็นกระบวนการที่เป็นระบบแข็งแกร่ง ผู้บริหารประเทศที่รับแต่เงินส่วยจะไม่ทำอะไรเลย ตำรวจที่ดีก็สิ้นหวังในราชการ ถ้าไม่ทำชั่วก็ไม่มีเงินซื้อตำแหน่ง” ดร.น้ำแท้ มีบุญสล้าง กล่าว

ขณะที่ พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม กล่าวว่า ตำรวจทำคดีตำรวจ” ไม่ร้ายเท่า “ตำรวจรับส่วยสอบสวนตำรวจส่งส่วย” ประเทศที่เจริญจะไม่มีปัญหาเรื่องส่วย ตำรวจเขาก็ทำงานตามหน้าที่กันทั้งนั้น “ส่วยรถบรรทุก” เป็น “แก๊งอั่งยี่” ชาวบ้านจะทำได้อย่างไร พอถูกจับก็มีตำรวจวิ่งเคลียร์ ตำรวจทางหลวงตั้งขึ้นเพื่อดูแลการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ทางหลวง เพื่อการรักษาและคุ้มครองทางให้ประชาชนสัญจรด้วยความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยไม่ใช่ให้ไปไล่จับต่างด้าวหรือยาเสพติด รวมทั้งการตั้งด่าน

พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าวว่า “การตัังด่าน” คือการทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในสังคม อันตราย ผิดกฎหมาย ไม่สะดวกต่อผู้ใช้ทาง ตำรวจเอาอำนาจอะไรมาตั้งด่านปิดกั้นถนน ถ้าเกิดอุบัติเหตุ “คนตั้งด่าน” ต้องรับผิดชอบ การตั้งด่านเป็นเพียงการกรองรถที่ไม่เคลียร์ และตรวจจับคนจนเป็นส่วนใหญ่

“ปัญหาคือระบบตำรวจไทย ‘เพี้ยน’ จัดองค์กรแบบกองทัพ มีชั้นยศแบบทหาร ในกระบวนการยุติธรรมไทย ตำรวจมีความสำคัญกว่าอัยการและศาล อย่างคดีกำนันนกวงจรปิดจุดสำคัญ 2 ตัว ภาพดันหายอีก ไม่ได้เสียบสาย ขอตั้งคำถามว่า ถ้าไม่มีภาพกำนันจะไปทิ้งน้ำทำไม ปัญหาสำคัญของการสอบสวนคือปราศจากการควบคุมจากภายนอกสิ้นเชิง ไม่มีใครเข้าไปในระหว่างการสอบสวนได้ ทุกอย่างเบ็ดเสร็จที่ตำรวจหมด จึงเป็นปัญหา หน่วยอื่นสอบสวนไม่ได้ ตำรวจผูกขาดไว้หมด ตำรวจทางหลวงต้องโอนไปสังกัดกรมทางหลวง ให้อธิบดีกรมทางหลวงควบคุมการทำงาน”

พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าวว่า ปัญหาของชาติทั้งปวงอยู่ที่ระบบสอบสวน ประเทศไทยตำรวจมีอำนาจมาก คดีที่มีปัญหาอัยการต้องเข้าตรวจสอบได้ ผู้บังคับบัญชาตำรวจจะไม่กล้ายุ่ง ทำได้โดยแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิอาญา เป็นร่างกฎหมายที่ค้างอยู่ในสภาฯ จะแก้การผูกขาดอำนาจสอบสวน การรู้เห็นทำลายพยานหลักฐาน ระบบตำรวจไทยชั่วร้าย ตำรวจ ผู้ใหญ่ที่ทุจริตรับส่วยสินบนไม่ต้องการเปลี่ยน เช่น เงินส่วนแบ่งค่าปรับจราจร ตำรวจผู้ใหญ่ก็ได้มากทั้งที่ไม่มีสิทธิ เป็นที่มาของการสั่งให้ตั้งด่านผิดกฎหมาย เงินที่ได้มาก็นำไปซื้อตำแหน่งพัวพันกันอยู่อย่างนี้ ส่วนแบ่งค่าปรับจราจรต้องทบทวน ข้อบังคับกระทรวงการคลังขัดต่อ พ.ร.บ.เงินคงคลัง เป็นที่มาของความวุ่นวายในการตั้งด่าน สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนอย่างยิ่ง

Read More

วงสัมมนา ยันป.วิ อาญาไทยไม่มีปัญหา แต่อัยการสั่งฟ้องตาม’นิยายสอบสวน’ของตร. ชำแหละการเก็บพยานหลักฐานไร้การตรวจสอบ

สำนักงานอัยการสูงสุด สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการสอบสวนและการดำเนินคดี สำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมกับ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม จัดสัมนาวิชาการ เรื่อง  กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีปัญหา หรือ “ความเข้าใจและการบังคับใช้ไม่ถูกต้อง”

Read More

เพราะ ‘ตำรวจผู้ใหญ่’ รับ ‘ส่วยสินบน’  ‘ผู้มีอิทธิพล’ จึงเกิดขึ้นทั่วไทย

     คดี นายหน่อง ยิงสารวัตรตำรวจตายในงานเลี้ยง สังสรรค์ตำรวจประจำเดือน บ้านกำนันนก ได้สร้างความตกตะลึงให้กับประชาชนพร้อมคำถามว่า

Read More

‘กมล’ ชงปฏิรูปตำรวจ กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ยุบสตช.เหลือกองปราบฯทำหน้าที่เหมือนเอฟบีไอ

นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ เผยแพร่บทความ เรื่อง ถึงเวลากระจายอำนาจโครงสร้างตำรวจ(เสียที) มีเนื้อหาดังนี้

Read More

‘ประมวลจริยธรรม’ เรื่องขำๆ ของตำรวจไทย!

เหตุการณ์สารวัตรตำรวจทางหลวงถูกนายหน่องยิงตายในงานเลี้ยงอาหารบ้านกำนันนก  ผู้ประกอบธุรกิจก่อสร้างถนนหนทางและรถบรรทุกดินทรายผู้กว้างขวางและมีน้ำใจในจังหวัดนครปฐม

Read More

บันทึกภาพเสียงการควบคุม แจ้งอัยการ นายอำเภอและกรมการปกครองทราบ ต้องทำทุกกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐ ‘คุมตัว’ ประชาชน

หลัง พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 ก.พ.2566 ได้มีเจ้าพนักงานของรัฐหลายฝ่ายที่ใช้อำนาจทั้งตาม ป.วิ อาญา และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการตรวจค้น จับกุม และควบคุมตัวประชาชนตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ ยังไม่เข้าใจชัดแจ้งว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายในเรื่องนี้

Read More