ภาคประชาชนจี้ปฏิรูปตร.ทั้งระบบ แยกงานสอบสวนออกจากตร.นายกฯต้องรับผิดชอบ
เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 ภาคประชาสังคมรวมตัวกันแถลงข่าว เรื่อง ข้อสงสัยและกังขาต่อกรณีคดีผู้กำกับโจ้ นครสวรรค์ และข้อเสนอต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ประธาน กตร. (นายกรัฐมนตรี) ในการปฏิรูปตำรวจ เพื่อยุติวัฒนธรรมซ้อมทรมานในการสืบสวนสอบสวนของตำรวจนอกรีต และการเรียกหาผลประโยชน์ในระบบตำรวจ
ผู้ร่วมแถลงดังกล่าวประกอบไปด้วย นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) นายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ทนายความและประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม นางสมศรี หาญอนันทสุข กรรมการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) อดีตผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (Police Watch) และ นายสมชาย หอมลออ ที่ปรึกษาสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
โดยนายเมธา มาสขาว กล่าวว่า คดีของผู้กำกับโจ้ เกี่ยวันกับปัญหาในกระบวนการยุติธรรมเรื้อรัง ที่จำเป็นต้องถูกชำแหละ นอกจากนี้ยังแสดงความกังขาในคดีและข้อเสนอเพื่อปฏิรูปตำรวจ 10 ข้อ ข้อแรก ผู้ต้องหาแถลงข่าวกับสาธารณะโดยไม่มีการฟังความจากฝ่ายโจทย์หรือหาพยานหลักฐานพอเพียง ข้อต่อมาประเด็นผู้กำกับโจ้เปิดแผลวัฒนธรรมตำรวจนอกรีตในงานสืบสวนสอบสวนโดยการซ้อมทรมาน วิธีการทรมานแบบนี้เป็นอาชญากรรม ผิดทั้งกม.ในปท. และต่างประเทศ ข้อสามเหตุการณ์นี้ บทสะท้อนวัฒนธรรมตำรวจที่ต้องแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมานาน เป็นระบอบอำนาจนิยมในการบังคับใช้กฎหมาย และลอยนวลพ้นผิดตลอด ข้อสี่ การเติบโตของ ผกก.โจ้ เกิดจากระบบเส้นสายและการวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่ง
ข้อห้า การจับกุมและนำรถหรูส่งให้กับกรมศุลกากรขายทอดตลาด รวมทั้งสิ้นกว่า 368 คัน ตั้งแต่ปี 54 จนถึงปัจจุบัน โดยได้เงินรางวัลนำจับไปกว่า 400 ล้านบาท การใช้ช่องว่างทางกฎหมายเอื้อผลประโยชน์ส่วนตน จนเกิดระบบเครือข่ายขึ้น ในระบบคอร์รัปชันเงินแผ่นดิน ข้อหก ระบบส่วยในโรงพัก การหายอด เพราะอำนาจบังคับใช้กฎหมาย ไม่มีการตรวจสอบข้ามหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อที่เจ็ด ต้องแยกอำนาจสอบสวนออกจากตำรวจ เพราะเกิดการแทรกแซงคดีจากผู้บังคับบัญชา เกิดการเรียกรับผลประโยชน์ รีดไถผู้ต้องหา ข้อแปด ผบ.ตร.จะต้องทำคดีนี้ให้เป็นคดีตัวอย่างดังที่ท่านพูด เพื่อปฏิรูปตำรวจทั้งระบบ ข้อเก้า นายกรัฐมนตรีต้องมีความผิด เพราะไม่ยอมปฏิรูปตามมาตรา 258-261 รื้อกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กตร. ต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก เพราะพยายามสร้างรัฐตำรวจให้รับใช้ทหาร และข้อสิบ เสนอปฏิรูปตำรวจทั้งระบบ เลิกระบบชั้นยศแบบกองทัพ เลิกระบบส่วยในท้องที่ การวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่งก็จะไม่มี
ด้านนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ทนายความและประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม ย้ำให้ตระหนักว่าเราไม่ควรยอมรับวิธีการซ้อมทรมานผู้ต้องหาคดียาเสพติดในกระบวนการสืบสวนสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และควรจะตระหนักว่าในข้อกฎหมายที่บังคับให้มีการติดกล้องวงจรปิดในห้องสอบสวน
นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวถึงการกล่าวอ้างว่าการซ้อมทรมานเป็นไปเพื่อการป้องภัยจากยาเสพติด ซึ่งเป็นสิ่งไม่สมควรและควรผลักดัน พรบ.ป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานและบุคคลสูญหาย พรบ.ที่เรามาพยายามผลักดันชื่อ พรบ.ป้องกันและปรามการซ้อมทรมานและบุคคลสูญหาย และในคดียาเสพติดที่มีการใช้นโยบายปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ คดีปราบปรามความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือกรณีอื่น ๆ ที่อาจจะร่วมกับระหว่างประเทศ เป็นคุกลับ และมีเหตุการณ์ซ้อมทรมานที่ไร้มนุษยธรรม ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทำให้ถึงแก่ชีวิต ผู้บังคับบัญชานอกจากจะปัดความรับผิดชอบแล้วยังปกปิดซ่อนเร้นพยานหลักฐาน ไม่รับผิดชอบ ปกปิดข้อมูลการสอบสวน ญาติผู้เสียหายเข้าไม่ถึง ในส่วนนี้บทบาทของอัยการ เราเสนอให้เข้ามามีบทบาทในการเป็นเจ้าของสำนวน ตั้งแต่วันแรกที่มีการสืบสวนสอบสวน เพื่อที่จะแยกเป็นสำนวนอีกสำนวนหนึ่ง อันนี้ก็จะกล่าว กสม. ด้วย ตำรวจหรืออัยการที่เข้ามาเห็นสำนวนแล้ว
สมศรี หาญอนันทสุข กรรมการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ขอให้เน้นตระหนักในเรื่องสื่อและการรับรู้ของประชาชน รวมถึงการติดกล้องวงจรปิดในห้องสอบสวนหรือเซฟเฮ้าส์ที่ใช้ในการสอบสวน รวมถึงการไม่สนับสนุนการซื้อขายตำแหน่ง กรณีคดีของโจ้มีแนวโน้มที่จะนำเงินเพื่อส่งนายหรือซื้อขายตำแหน่งหรือไม่ เราเสนอให้การเลื่อนตำแหน่งจากความรู้ ความสามารถ การประเมินจากประชน และความอาวุโส อีกประเด็นหนึ่งท่านนายกรัฐมนตรีที่เข้ารับตำแหน่งปฏิรูปตำรวจ ลึกซึ้งแค่ไหน ควรให้คนอื่นทำหรือไม่หรือไม่
นายสมชาย หอมลออ ปรึกษาสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้กล่าวถึง เหตุการณ์ของการละเมิดกฎหมาย การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง อย่างเช่นกรณีของผู้กำกับโจ้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้น มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตมากมาย ทั้ง 14 ตุลา 6 ตุลา สังหารหมู่กลางเมือง กรณีการชุมนุมของ นปช. ในปี 53 กรณีกรือเซะก็เป็นที่กล่าวขวัญของสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ปัญหาที่ถกเถียงกันมากที่สุดในสังคมก็คือการละเมิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่โดยฆาตกรรมสังหาร มันเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะนิสัย ความประพฤติส่วนตัว หรือเป็นเรื่องของระบบ ในทัศนะของผมถ้าเป็นเรื่องของตัวบุคคลมันแก้ง่าย ถ้าเกิดขึ้นเพราะเจ้าหน้าที่คนหนึ่งกระทำความผิดอย่างร้ายแรงอย่างผู้กำกับโจ้จะต้องลงโทษ เพราะองค์กรตำรวจจะไม่มีความ
นายสมชาย ยังย้ำว่า สิ่งที่ผมจะเสนอ ปัญหาที่เกิดขึ้นมันเป็นปัญหาของระบบ ไม่ใช่ตัวบุคคล ที่สำคัญมันไม่ใช่ระบบที่เกิดจากโครงสร้างหรือกฎหมาย มันลึกกว่านั้นเพราะระบบนี้ได้พัฒนาไปถึงขั้นเป็นวัฒนธรรมองค์กร เป็นองค์กรที่ใช้ความรุนแรง ละเมิดกฎหมาย ส่งส่วย ที่ส่งเสริมคนกระทำผิดลอยนวล เรื่องเหล่านี้กลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำในเรื่องการสืบสวนสอบสวน สาเหตุหนึ่งเนื่องจากว่าตัวชี้วัดความสำเร็จของคดี อยู่ที่ว่าจับตัวคนร้ายได้หรือไม่ เมื่อจับได้แล้วได้มีการสอบสวนถึงขั้นที่อัยการสั่งฟ้องหรือไม่ ถ้าอัยการสั่งฟ้องถือว่าจบแล้ว แม้จะมีคดีที่ต่อมาศาลยกฟ้อง แต่การที่ศาลยกฟ้องไม่ได้มีส่วนที่นำมาใช้พิจารณาความดีความชอบของเจ้าหน้าที่เลย ระบบหรือกฎหมายได้สร้างขึ้นมาเพื่อผู้ถูกควบคุมตัวจากเจ้าหน้าที่ ทำให้ทหารหรือตำรวจใช้ช่องว่างทางกฎหมายทำร้ายผู้ถูกควบคุมได้ เช่น กฎหมายยาเสพติดให้อำนาจต่อเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติด เมื่อมีอำนาจในการปราบปรามยาเสพติดก็สามารถไปจับกุมผู้ต้องสงสัยเกี่ยวกับคดียาเสพติดได้ กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็น ปปส. ควบคุมตัวผู้ต้องหาได้ 3 วัน ก่อนส่งให้เจ้าหน้าที่สอบสวน โดยใช้ห้องเชือดในโรงพักเป็นเซฟเฮ้าส์ ขังได้ 3 วันโดยไม่ต้องแจ้งข้อกล่าวหา