40องค์กรประชาชนจี้ประธานสนช.เร่งคัดเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อกสม.โดยเร็ว
เมื่อวันที่14 ธ.ค.2561 องค์กรสิทธิมนุษยชน 40 องค์กร และบุคคลที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน 40 คน ทำจดหมายเปิดผนึกถึงประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เรียกร้องให้ประธานสนช.ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)ตามคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 เป็นเกณฑ์ เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานในการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการสากล และควรคัดเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกสม.โดยเร็ว เพื่อให้ได้กสม.ชุดใหม่เข้าทำหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนต่อไป
โดยจดหมายเปิดผนึกมีรายละเอียดดังนี้
จดหมายเปิดผนึก
วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
เรื่อง การตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เรียน ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่เคารพ
ตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๖๑ โดยกำหนดระยะเวลาการตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน คือวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ต่อมาคณะกรรมาธิการสามัญฯ ขอขยายเวลาการตรวจสอบประวัติฯ ครั้งที่ ๑ ไปอีก ๓๐ วันซึ่งสิ้นสุดในวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ และล่าสุดขอขยายเวลาการตรวจสอบประวัติฯ ครั้งที่ ๒ อีก ๓๐ วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๒ นั้น
องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรสิทธิมนุษยชน และบุคคลที่มีรายนามท้ายจดหมายนี้ ขอเสนอความเห็นและข้อเสนอมายังท่าน เพื่อการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมและสมควรได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
- คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ และมีอาณัติในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ มีอำนาจหน้าที่หลักในการตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงการละเมิดสิทธิมนุษยชน เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตลอดทั้งเสนอแนะการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบหรือคำสั่งใดๆ ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงการเสริมสร้างทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชน
ดังนั้น บุคคลที่เหมาะสมจะได้รับการคัดเลือกจากการสรรหาให้เป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ ในด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริง การจัดทำรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน การเสนอแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนเชิงระบบทั้งการปรับปรุงนโยบาย หรือกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีในการปฏิบัติตามให้เป็นไปตามหลักการดังกล่าว
- บุคคลที่จะได้รับการคัดเลือกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้เป็นกรรมการวิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
นอกจากมีคุณสมบัติตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ แล้ว บุคคลดังกล่าว จะต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ ด้วย กล่าวคือ พิจารณาลักษณะต้องห้ามทั้ง ๒๕ อนุมาตรา ตาม มาตรา ๑๐ เป็นเกณฑ์การพิจารณา ซึ่งประเด็นที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติควรพิจารณานั้น คือ ลักษณะต้องห้ามที่สำคัญที่อาจถือว่า บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อนั้น เป็นผู้มีพฤติการณ์อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง หรือ เป็นผู้มีประวัติการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างแจ้งชัด เช่น เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ หรือเป็นผู้นิยมใช้ความรุนแรงในครอบครัว หรือกับผู้อื่น เป็นต้น ซึ่งลักษณะต้องห้ามดังกล่าว ขัดแย้งต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามอาณัติที่ได้รับในการเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง
ส่วนพฤติกรรมหรือลักษณะใดเป็นลักษณะต้องห้ามที่เป็นที่ถกเถียงกันในทางสื่อมวลชนนั้น เช่น ตาม (๑๗) เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน นั้น ไม่อยู่ในลักษณะต้องห้ามที่ควรนำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณามิให้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพราะเหตุว่า ลักษณะต้องห้ามนี้ หมายถึง บุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้ถูกศาลพิพากษาจำคุกและผู้นั้นต้องได้รับโทษจำคุกจริง ดังนั้นแม้ศาลพิพากษาให้จำคุกแต่โทษจำคุกให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษไว้ก่อน จึงมิใช่เป็การต้องคําพิพากษาให้จําคุก เพราะผู้นั้นไม่ได้ถูกจำคุกจริง ตามนัยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๓๖/๒๕๔๒ จึงไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
นอกจากนี้พฤติกรรมอื่นๆ เช่น การมีประสบการณ์เป็นผู้คัดค้านโทษประหารชีวิตก็ดี การเสนอให้มีการปฏิรูปตำรวจก็ดี หรือการมีคู่ชีวิตเป็นสื่อมวลชนก็ดี ล้วนไม่ใช่ลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย ที่จะนำมาเป็นเหตุมิได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้วยเช่นกัน
๓. ผู้ได้รับการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหาให้เป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติกำลังพิจารณาอยู่นี้ เป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอื่นในการพิจารณาคัดเลือกให้ได้เป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมาจากภาคประชาชนหรือภาครัฐ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสหประชาชาติว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ หรือหลักการปารีส ที่ว่า กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรมาจากบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพและความเชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนที่หลากหลายและต้องมีผู้แทนภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้วย
ด้วยหลักการและเหตุผลข้างต้น องค์กรภาคประชาสังคม และองค์กรสิทธิมนุษยชนจึงมีข้อเสนอแนะ ต่อท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘ (๑) – (๕) และ มาตรา ๑๐ (๑) – (๒๕) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นเกณฑ์ เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานในการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการสากล และควรคัดเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยเร็ว เพื่อให้ได้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดใหม่เข้าทำหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนต่อไป
องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรสิทธิมนุษยชน และบุคคลที่มีรายนามท้ายจดหมายนี้มีความเชื่อมั่น ว่าการดำเนินการตามหลักการและข้อเสนอแนะดังกล่าวจะเป็นผลดีต่อประเทศไทย ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้ประชาชนไทย และกลไกการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระดับสากลในทุกภูมิภาคของโลก มีความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยมากขึ้นเท่านั้น แต่จะทำให้ประเทศไทยมีความสง่างามในการเป็นประธานอาเซียนในปี ๒๕๖๒ และมีกลไกปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่มาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่พร้อมจะทำงานร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนอีกด้วย
ด้วยความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชน
รายนามองค์กร
- ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove)
- คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา ๓๕
- สถาบันสังคมประชาธิปไตย
- สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา
- มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย (มพศ.)
- เครือข่ายนักสื่อสารแรงงาน
- ศูนย์เผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา (ผสพ.)
- มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.)
- คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
- มูลนิธิชุมชนเกษตรนิเวศน์ จ.สุรินทร์
- มูลนิธิกองทุนไทย
- มูลนิธิป่า-ทะเลเพื่อชีวิต จ.สุราษฎร์ธานี
- เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน
- โครงการปฏิรูปการเกษตรและพัฒนาชนบท จ.พิจิตร
- สมาคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเทือกเขาเพชรบูรณ์
- สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ
- ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)
- เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคอีสาน
- สมาคมผู้บริโภค จ.ขอนแก่น
- กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน
- สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)
- คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)
- สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
- ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย(YPD)
- สมาคมป่าชุมชนอีสาน
- มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว (มคค.)
- มูลนิธิรณรงค์หยุดการพนัน (มรพ.)
- สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม (สสป.)
- สถาบันพัฒนาพลังสังคม (สพส.)
- มูลนิธิสระแก้ว
- มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)
- มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม
- มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ (มพน.)
- สหพันธ์เกษตรภาคเหนือ (สกน.)
- ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา
- เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติดินน้ำป่า ภาคเหนือล่าง
- สมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค
- เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา
- มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ
- สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
รายชื่อบุคคล
- นพพรรณ พรหมศรี
- วาสนา ลำดี
- ประกาศ เรืองดิษฐ์
- เชษฐา มั่นคง
- สุริยันต์ ทองหนูเอียด
- มานพ สนิท
- วิเศษ คุณฤทธิพงศ์
- จำรัส หวังมณีย์
- นิกร วีสเพ็ญ
- วัฒนา นาคประดิษฐ์
- ประพจน์ ศรีเทศ
- ปานจิตต์ แก้วสว่าง
- จำนงค์ จิตรนิรัตน์
- ปฏิวัติ เฉลิมชาติ
- กรรณิการ์ แพแก้ว
- อนุชา วินทะไชย
- กรรณิการ์ กิจติเวชกุล
- สุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง
- โอฬาร อ่องละ
- สมบูรณ์ คำแหง
- อารัติ แสงอุบล
- สุแก้ว ฟงฟู
- ดร.ดำเกิง โถทอง
- พิณทอง เล่ห์กันต์
- สุรัสวดี หุ่นพยนต์
- วัชรา สงมา
- สุธีลา ลืนคำ
- สุดท้าย ต่อโชติ
- นิรันดร์ กุลฑานันท์
- รศ.ดร.สุธี ประศาสน์เศรษฐ์
- กรรณิกา ควรขจร
- สาคร สงมา
- สุทธาวัลย์ บัวพันธ์
- จันทนา เอกเอื้อมณี
- นันทวัน หาญดี
- ศ.ระพีพรรณ คำหอม
- รศ.เล็ก สมบัติ
- ผศ.ดร.ภุชงค์ เสนานุช
- ผศ.ดร.นฤมล ทับจุมพล
- ดร.น้ำผึ้ง มีศิล