แฉวงจรอุบาทว์ตร.รับส่วยสินบนไปซื้อเก้าอี้คุ้มครองสิ่งผิดกฎหมาย แนะให้หลายหน่วยงานดำเนินคดีได้

เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ ผนึกสภาทนายความ จัดการเสวนา เรื่อง “ปฏิรูประบบการดำเนินคดีอาญาตามมาตรฐานสากล” ชำแหละวงจรอุบาทว์ตำรวจรับส่วยสินบนไปซื้อขายตำแหน่งทำให้สิ่งผิดกฎหมายอยู่ได้ แนะทางแก้ตัดช่องทางการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมให้อำนาจหลายหน่วยงานดำเนินคดีได้  รับแจ้งความลงในระบบคอมพิวเตอร์พร้อมบันทึกภาพและเสียง

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 ที่ห้องประชุม 2 ชั้น 2 พุทธวิชชาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระ นคร เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (Police Watch) ร่วมกับสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการเสวนา เรื่อง “ปฏิรูประบบการดำเนินคดีอาญาตามมาตรฐานสากล” โดยนายดำรงศักดิ์ เครือแก้ว อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ สภาทนายความฯ กล่าวว่า การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมต้องเริ่มที่ต้นทาง ไม่ใช่พนักงานสอบสวน ต้องอยู่ที่ผู้สืบจับกุมที่ทำตามความเป็นจริง ส่วนบันทึกการจับกุมมีทั้งความเท็จความจริงอยู่ในที่เดียวกันแยกไม่ออก ขณะที่ปัญหาผู้เสียหายบางรายไม่เสียหายจริง แต่ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน  ซึ่งกฎหมายบังคับให้รับการร้องทุกข์ หากไม่รับก็เสี่ยงละเว้นการปฏิบัติหน้าที่  เพราะไม่มีระบบตรวจสอบว่าผู้ร้องทุกข์เป็นผู้ได้รับความเสียหายจริง มือ สะอาดจริงหรือไม่

พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร ผู้เขียนหนังสือ “วิกฤตตำรวจและการสอบสวน จุดดับกระบวนการยุติธรรม” กล่าวว่า ปัญหากระบวนการยุติธรรมจะทำให้ชาติล่มสลาย ประเทศไทยมีปัญหากระบวนการยุติธรรมต้นทางสารพัด กรณีตำรวจ รับส่วยและสินบน ซึ่งคนก็พร้อมที่จะจ่ายมากกว่าสู้คดี เพราะไปศาลก็มีประวัติติดตัว หรือ ปัญหาตำรวจไม่รับร้องทุกข์ ความจริงประชาชนสามารถแจ้งต่ออำเภอได้ แต่อำเภอก็ไม่พร้อม ส่วนการแจ้งข้อหานั้น พบว่าตำรวจยากที่จะเสนออัยการสั่งไม่ฟ้อง เพราะเจ้านายไม่เชื่อถามหาซอง จนมีคำกล่าวว่า “สั่งไม่ฟ้องซองอยู่ไหน” คนที่รักความยุติธรรมจะสั่งไม่ฟ้องก็ไม่มี อนาคต

สำหรับข้อเสนอการปฏิรูปนั้น พ.ต.อ.วิรุตม์ มองว่า ต้องปฏิรูปการลงบันทึก ประจำวันรับแจ้งความลงในระบบคอมพิวเตอร์ ผู้แจ้งอ่านออกแก้ไขได้ ไม่ใช่ลงบันทึกลายมือลงกระดาษแบบสมุดข่อย คล้ายภาษาขอมอ่านไม่ออก พออ่านไม่ออกปวดหัวไม่อ่านก็เป็นวิกฤติ และการปฏิรูปการสอบสวนที่บันทึกถาม-ตอบ ไม่ครบถ้วน ต้องมีการบันทึกภาพและเสียง รวมถึงการสืบพยานในชั้นศาลก็ต้องบันทึกภาพและเสียง ให้ศาลสูงตรวจสอบได้ไม่ใช่ดูแต่เอกสาร เพื่อสะท้อนความจริงให้ตรงที่สุด ในประเทศเจริญแล้วคดีศาลยกฟ้องแทบไม่มี เพราะต้องแม่นมาตั้งแต่ต้น ไทยยกฟ้องถึง 40% ส่งคนไปศาลเดือดร้อน ซึ่งไม่ใช่ทางออก ในส่วนคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจชุดนายมีชัย ฤชุ พันธุ์ ก็ยังไม่มีหลักประกันเรื่องความยุติธรรม มีแต่เรื่องโครงสร้างแต่งตั้ง

นายน้ำแท้ มีบุญสล้าง อัยการจังหวัดสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิ์และช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี  จ.กาญจนบุรี กล่าวว่า ความยุติธรรมเริ่มตั้งแต่ชั้นจับกุม สืบสวน สอบสวน  อัยการ ศาลมีคำพิพากษา ถ้ามีความผิดพลาดแต่แรกก็ยาก ศาลมักจะให้เหตุผลในคำพิพากษาว่าพยานเจ้าหน้าที่ไม่มีเหตุโกรธเคืองกับจำเลย แต่ความจริงเจ้าหน้าที่ไม่โกรธ แค่อยากได้ผลประโยชน์ก็กลั่นแกล้งได้ หัวใจสำคัญของหลักนิติธรรม ทุกคนต้องเสมอภาคภายใต้กฎหมาย ขณะที่ความจริงมีคนอยู่เหนือกฎหมาย คนถูกบังคับใช้เป็นคนจน เหตุไม่เสมอภาคเพราะเงินซื้อการทำงานได้ ไม่เหมือนต่างประเทศที่เงินซื้อไม่ได้ เพราะในระบบทุกคนเห็นพยานหลักฐานหมดไม่มีใครบิดเบือนได้ ต้องมีระบบอะไรที่จำกัดการทำเลวได้

“วงจรอุบาทว์ส่วยสินบน คือการจ่ายเงินเพื่อเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ไม่มีคดีเกิดขึ้น สิ่งผิดกฎหมายอยู่ได้ เพราะตำรวจต้องเอาเงินไปซื้อตำแหน่ง ซึ่งระบบในต่างประเทศนั้นจะมีหลายหน่วยงานที่สามารถดำเนินคดีอาญาได้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานด้านป่าไม้ ศุลกากร ที่ดิน  รวมถึงอัยการก็จับกุมได้ คนจ่ายเงินก็ไม่รู้ว่าจะไปจ่ายใคร  ไม่ใช่เคลียร์ตำรวจอย่างเดียว และไม่เป็นการซับซ้อนเพราะถ้าใครไม่ทำก็มีคนทำ ผู้เสียหาย แจ้งท้องที่แล้วไม่ดำเนินการสามารถแจ้งอัยการให้สั่งสอบได้ เป็นระบบถ่วงดุลไม่พึ่งใครคนหนึ่ง ทั้งนี้พวกผมเสนอต่อสู้เรื่องการปฏิรูปจนผู้คนเข้าใจ แต่เสนอแล้วก็ไปตายที่คนกลุ่มหนึ่ง”

นายน้ำแท้ ได้สรุปเรื่องวงจรอุบาทว์ส่วยสินบนและการแก้ปัญหาว่า การ ซื้อขายตำแหน่งทำให้คนเลวได้ตำแหน่ง ไม่มีทางไปทำสิ่งดี ต้องช่วยเหลือคนจ่ายเงินแล้วคนชั่วลอยนวล การแก้ปัญหาได้ต้องทำให้กฎหมายเป็นกฎหมาย มีการจ่ายเงินไปก็ถูกคนอื่นจับกุมอยู่ดีถ้าเป็นเช่นนี้จะไม่ซื้อขายตำแหน่ง ได้คนดีคนเก่งมาทำงาน คนจนได้ความยุติธรรม คือต้องตัดช่องทางการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรม และให้อำนาจหลายหน่วยงานดำเนิน คดีได้ ส่วนปัญหาศาลยกฟ้องมากสะท้อนว่ารัฐบกพร่อง เพราะย่อมหมาย ความว่าเอาคนบริสุทธิ์ไปขังระหว่างพิจารณา หรือหากกระทำผิดจริงก็เป็น การปล่อยคนชั่วลอยนวล

นายสมชาย หอมลออ อดีตประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความฯ กล่าวว่า คนจน คนชายขอบติดคุก แต่คนมั่งมีมักไม่ติดคุก  คนเหล่านี้เข้าถึงความยุติธรรมหรือไม่ เหตุที่ไม่สามารถเข้าถึงได้เพราะ ปัญหาด้านระบบ เช่น กรณีอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง ปัจจุบันต้องส่งกลับ ไปให้ผู้บัญชาการตำรวจภาคมีความเห็น ทั้งที่พนักงานสอบสวนเป็นผู้ส่งฟ้อง  เป็นการกลับไปหาตำรวจอีกหรือกรณีระบบวิ่งเต้น ที่เวลาชาวบ้านถูกจับกุม จะนึกถึงญาติหรือเพื่อนที่เป็นตำรวจ ข้าราชการหรือไม่ก่อน ไม่มีก็ไปถามครู  ถามเจ้าอาวาส บางคนบอกจะช่วยขอเงินวิ่งเต้น นึกถึงทนายความเป็นคนสุดท้าย พอมาหาทนายก็ไม่มีเงินเอาไปวิ่งเต้นหมด เป็นปัญหาที่คนไม่เชื่อมั่น และไม่เข้าถึงความยุติธรรม

“การปฏิรูปนั้นรัฐต้องมีหน้าที่ปกป้องสิทธิคุ้มครองประชาชน โดยต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน จะจับใครต้องมีพยานหลักฐานแน่นหนาพอสมควร และคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจละเมิด”นายสมชาย

About The Author