วงเสวนาเฉ่งตำรวจตั้งด่านลิดรอนสิทธิประชาชนในการสัญจร ผิดพ.ร.บ.ทางหลวง  เกิดอุบัติเหตุใครรับผิดชอบ แต่ตัวแทนกรมการขนส่ง-กรมทางหลวง ยังไม่มีคำตอบ

รวจตั้งด่านตรวจค้น

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน  สถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (สป.ยธ.) เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (คป.ตร.) และคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  จัดเสวนาหัวข้อ  “ตำรวจตั้งด่านตรวจค้น  ละเมิดเสรีภาพประชาชน  รถชนเจ็บตาย ใครรับผิดชอบ?วิทยากร ประกอบด้วย 1.ดร.ทองอยู่ คงขันธ์ ที่ปรึกษาสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย 2.นายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย 3.นายทรงฤทธิ์  ชยานันท์  รองผู้อำนวยการสำนักอำนวยความปลอดภัย ตัวแทนอธิบดีกรมทางหลวง 4. นายภพ ไตรยสุนันท์   นักวิชาการขนส่งชำนาญการ  ตัวแทนอธิบดีกรมการขนส่งทางบก 5.พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร  เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม  6.นายเกรียงไกร ไทยอ่อน  ประธานเครือข่ายประชาชนคัดค้านการตั้งด่านฯ และทีมงานนักรบด่านเถื่อน ดำเนินรายการโดย  คุณรัชฎะ สมรทินกร ผู้จัดรายการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

 

ดร.ทองอยู่ คงขันธ์    ปรึกษาสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า การตั้งด่านตรวจที่ไม่ใช่ด่านความมั่นคง ได้สร้างภาระทาง logistic  และลิดรอนสิทธิประชาชนในการสัญจร  ด่านลอยที่ซุ่มตามพุ่มไม้ ก็สร้างปัญหาให้กับประชาชน  ต้องตั้งคำถามว่าตำรวจมีอำนาจอะไร   โดยเฉพาะในทางการค้าที่ต้องทำเวลา เมื่อเจอด่านตลอดเวลา มันทำให้เราส่งสินค้าล่าช้า  คนขับรถไม่เชื่อมั่นต่อคนทำหน้าที่ที่ทำงานรับสินบน รางวัลนำจับ  เมื่อเราไม่เชื่อถือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหลายคนทำหน้าที่มุ่งหวังสินบนรางวัลนำจับ  และคนส่วนใหญ่ก็กลัวการนำสิ่งผิดกฎหมายไปใส่ในรถให้เป็นคดีขึ้นมา

“มีการตั้งด่านซ้ำซ้อน ตั้งทุกจังหวัด ทุกอำเภอ  เป็นภาระให้กับคนเดินทาง ประชาชนไม่มีความสุขในการเดินทาง ไปเยี่ยมญาติหรือไปเที่ยว  และที่มากกว่านั้นคือเกสตาโปไปนอกด่านเพื่อส่งสัญญาณให้รู้ว่า หมูกำลังมา ให้ส่งสัญญาณชิดซ้าย เข้ามาเพื่อให้หยุดรถ    ประชาชนจะขับอย่างไรให้ปลอดภัย แล้วเหตุเกิดที่ด่าน  มีความเสียหายต่อทรัพย์สิน  เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชอบด้วย ไม่ใช่หนีไปแล้วปล่อยให้ประชาชน หรือ ประกันภัยทำหน้าที่”

ทองอยู่ คงขันธ์
ทองอยู่ คงขันธ์

ดร.ทองอยู่  กล่าวอีกว่า  เมื่อการขนส่งสาธารณะ  ณ เวลานี้ เราในฐานะเป็นผู้ประกอบการ เราเจอกติกาของรัฐออกมาหยุบหยิบ มี พรบ. ขนส่ง พรบ. มลพิษ ฯลฯ มากมาย   ประชาชนได้รับผลกระทบจากการทำหน้าที่ของรัฐ เมื่อมี input กฎหมายเป็นสิบๆฉบับ แต่เมื่อ output เป็นปัญหา ใครจะรับผิดชอบ   และทำอย่างไรไม่ผู้ตรวจ และผู้ถูกตรวจ ต้องทะเลาะกัน สมัยก่อนมีการจำกัดรางวัลนำจับ  ไม่ว่าจะจับเฮโรอีนมาเท่าไหร่ รางวัลนำจับก็จะไม่เกิน 1 ล้านบาท   ถ้าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติ และต้องถามจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจอย่างไร

 

นายอภิชาต ไพรรุ่งเรือง  ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า  การที่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ตั้งด่าน ที่ทางลงของสะพาน หรือตั้งกรวยให้เป็นคอขวด แล้วเกิดอุบัติเหตุ บางครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกรถชนตายก็มี เรามีรถหลายร้อยคัน ลงทุนเป็นพันล้าน เวลาเราเจอใบสั่ง หาว่า GPS มีปัญหา ปรับเรา 5 หมื่นบาท แล้วโดนจับที่ไหน ไปเสียค่าปรับที่ไหนก็ได้   ตั้งแต่ คสช.เข้ามาเราเจอกฎหมายอะไรไม่ทราบมากกมายไปหมด   ทางคุณเกรียงไกร ไทยอ่อน มี live สด จะเห็นปัญหามากมาย   หมายเลขครุภัณฑ์ก็ไม่มี  ถูกใบสั่งกันมากมายไปหมด   นักท่องเที่ยวเคยถามคนจัดทัวร์ ว่าทำไมรถทัวร์เขาจอดบ่อย เสียเวลามาก มีเจ้าหน้าที่ตำรวจออกมาตั้งด่าน เพิ่มความติดขัด ทำให้การจราจรติดขัดไปหมด  เวลาเราจะขอดูใบอนุญาตในการตั้งด่านก็จะถูกข่มขู่  ถ้าท่านคิดอยากจะตั้งด่าน ก็ต้องตั้งอย่างถูกต้อง

อภิชาต ไพรรุ่งเรือง
อภิชาติ ไพรรุ่งเรือง

“อันที่จริง ผมเป็นคนสร้างรางวัลนำจับ เพราะเห็นความลำบากของตำรวจในอดีต จะได้ไม่ต้องรับส่วย   แต่ตอนนี้เห็นว่ารางวัลนำจับเป็นที่มาของการตั้งด่านอย่างไม่มีเหตุผล ควรจะยกเลิกเสียดีกว่า”นายอภิชาติ กล่าว

 

พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร    เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม กล่าวว่า  เราคุยปัญหาเรื่องการตั้งด่านกันหลายรอบ  แต่ไม่มีการแก้ปัญหา เพราะรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจไม่เข้าใจและไม่สนใจความเดือดร้อนของประชาชนเมื่อมีสภาผู้แทนราษฎร มีกรรมาธิการต่างๆ เช่นคมนาคม ตำรวจ กฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน  ก็เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่จะพูดกัน วันนี้เชิญคุณโสภณ ซารัมย์ ประธานกมธ.คมนาคมมา  แต่เผอิญติดประชุมสองสภา  มาไม่ได้จริงๆ  อย่างไรก็ตาม เราต้องการคำตอบว่า “การที่ตำรวจตั้งด่าน นำสิ่งกีดขวางต่างๆ มาวางบนถนนบีบช่องทางเดินรถให้แคบลงนั้น  เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?  มีการนำแผงเหล็กกรวยยางหรือป้ายไฟมาตั้งหลายรูปแบบแม้กระทั่งสลับฟันปลาแบบยุทธวิธี  เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนมีคนเจ็บตาย ก็ไม่มีใครรับผิดชอบ  ตำรวจแยกย้ายกันหลบหนีอย่างรวดเร็ว

พ.ต.อ.วิรุตม์  กล่าวว่า พรบ.ทางหลวงมาตรา  38 และ 39 ห้ามผู้ใดตั้ง วางสิ่งกีดขวางหรือกระทำด้วยประการใดๆ ให้เกิดความไม่สะดวกต่อการใช้ทาง  ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนสัญจรสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย  ไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กระทำได้  ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกถึงสองปี ไทยเป็นประเทศเดียวที่ตั้งด่านกันมากมายขนาดนี้  ตามกฎหมายตำรวจจะเรียกรถคันใดให้หยุดได้  จะต้องพบความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดก่อน  หรือมี “เหตุอันควรสงสัย” ว่ามีสิ่งผิดกฎหมายเท่านั้น  ไม่ใช่อ้างว่ามีอำนาจหน้าที่เต็ม!

 

วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร
พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร

“ใกล้ปีใหม่ ก็เตรียมตั้งด่านตรวจกันแล้ว  เรื่องราวของลุงควันดำก็ไม่ทราบไปถึงไหน ประชาชนเมื่อเห็นตำรวจก็ไม่อยากมีเรื่องกับตำรวจ เรื่องมันจะยาว  อันที่จริงตำรวจผู้น้อยก็ไม่อยากตั้งด่าน แต่เมื่อนายสั่งมาก็ต้องเตรียมหาเหตุด้วย เพราะบางทีไม่มีเหตุให้ตรวจ บางครั้งก็ต้องยัดสิ่งผิดกฎหมายให้”พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าว

นายเกรียงไกร ไทยอ่อน ประธานเครือข่ายประชาชนคัดค้านการตั้งด่านฯ   ได้ฉายคลิปวิดีโอจากที่ไปพบเห็นการทำงานของตำรวจ ที่กีดขวางการจราจร และทำให้เกิดอุบัติเหตุ ประกอบการเสวนา โดยในวิดีโอได้โชว์สิ่งที่ไปพบเห็น การตั้งด่านแล้วทิ้งสิ่งกีดขวางทิ้งอยู่บนถนน โดยไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ที่ด่านกลายเป็นขยะบนท้องถนน ทิ้งไว้เกะกะ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ใครจะรับผิดชอบ กรมทางหลวง หรือตำรวจ

นายเกรียงไกร กล่าวว่า การตั้งด่านแล้วไม่เก็บอุปกรณ์ ทิ้งไว้ให้กีดขวางการจราจร ล่อเป้าให้เกิดอุบัติเหตุ อยากสะท้อนปัญหาให้กรมทางหลวงได้แก้ปัญหาเรื่องนี้ กรมทางหลวงทราบมั้ยว่าวันนี้ถนนหลวงได้เปลี่ยนเป็นสถานที่ทำงานของตำรวจไปแล้ว ไปที่ไหนๆก็เจอแต่ด่านตำรวจ แล้วเจ้าของพื้นที่จริงๆคือกรมทางหลวงจะทำอย่างไร จะปล่อยให้ประชาชนเขาต้องแก้ปัญหาเอาเองอย่างนั้นหรือ

“ประชาชนมีความกดดันเยอะจากการทำงานของตำรวจในการตั้งด่าน เวลาเจอด่านตรวจไม่รู้ว่าจะวางตัวอย่างไร บางทีมีการขอตรวจฉี่ ไม่มีใครกล้าปฏิเสธ เพราะหากปฏิเสธ กลัวจะถูกตั้งข้อหาหนัก เพราะตำรวจมักใช้อำนาจโดยไม่ฟังเสียงทักท้วงของประชาชน แม้บางคนจะมีความรู้ทางกฎหมายบ้าง ก็ไม่ยอมรับฟัง อยากถามอธิบดีกรมทางหลวง ว่าแม้นชาวบ้านเอาสิ่งของทางเกษตรไปวางบนถนนยังมีความผิด แล้วตำรวจเอาสิ่งกีดขวางไปตั้งไว้เฉยๆ วางขวางไว้ แล้วมีความผิดมั้ย บางแห่งวางทิ้งไว้เป็นปีๆ”

นายเกรียงไกร กล่าววย้ำว่า เมื่อเจ้าของพื้นที่คือกรมทางหลวง ไม่ใส่ใจการตั้งด่าน  บางครั้งไม่มีการบอกกล่าว ไม่มีป้ายแจ้งเตือน   ส่วนกรมการขนส่งทางบก มอบอำนาจให้ ตำรวจทำหน้าที่ แล้วทำผิด พรบ.ขนส่งทางบก มาตรา 140  ,141 และ 142  เมื่อตั้งด่านแล้วก็ไม่เก็บอุปกรณ์  มันผิดมาตรา 37 และ 39 ชาวบ้านร้องเรียนกันมามากมาย วิ่งมาด้วยความเร็วแล้วจะให้ชะลอกะทันหัน มันเป็นไปไม่ได้

เกรียงไกร ไทยอ่อน
เกรียงไกร ไทยอ่อน

นายธนกิจ จากนักรบด่านเถื่อน  กล่าวว่า ตอนนี้ตำรวจยึดถนนเป็นสำนักงานตั้งด่านกันทั้ง 30 วัน พวกเรานักรบด่านเถื่อนต้องสู้กับเรื่องแบบนี้ ผมอยากให้ตัวแทนอธิบดีกรมทางหลวง มาเอง อันที่จริงปัญหาหลักในประเทศไทยมันคือ เราพูดความจริงกันไม่ได้  นักรบด่านเถื่อนเรามีงานทำ แต่ต้องมาอาสาทำงานนี้เพราะเห็นปัญหา  รู้ว่าประชาชนเกรงกลัวตำรวจ  และถ้ายิ่งให้เกียรติตำรวจก็จะยิ่งโดยตำรวจหาเรื่อง เวลาเราพูดกับเจ้าหน้าที่ในด่านบางครั้งดูเหมือนเจ้าหน้าที่ไม่รู้กฎหมาย และเจ้าหน้าที่ตั้งจุดสกัด เอากรวย เอา barrier ไปตั้งมากมายหลายจุด วางไว้เป็นปี รถต้องหยุดทำให้ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ แล้วเหลือถนนให้เลนเดียว  แต่เมื่อได้ลงไปทุกด่านจะเห็นว่าเจ้าหน้าที่ทำผิดทุกด่าน  บางครั้งเรา live สด ถามเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าเป็นด่านอะไร เราได้คำตอบไม่เหมือนกัน

นายธนกิจ
นายธนกิจ

“เราพยายามขอดูบัตร ป.2 (บัตรที่ ปปส.ออกให้) เมื่อมี social media มากๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเตรียมบัตรไว้  เพื่อตรวจปัสสาวะ  เวลาเราลงไปถ่ายวีดีโอ ตำรวจจะปิดไฟ และปิดด่าน เลิกด่าน” นายธนกิจ กล่าว

 

นายทรงฤทธิ์  ชยานันท์  รองผู้อำนวยการสำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง กล่าวว่า   ได้ฟังแล้วทราบความจริงหลายอย่าง ที่จะนำไปรายงาน ทางกรมทางหลวง จะไม่นิ่งนอนใจ ในฝ่ายรัฐเราพยายามจะช่วยให้ประชาชนมีความปลอดภัย  เห็นว่าวิธีการปฏิบัติ การวางกรวย การกั้น การจับ บนทางหลวง มันมีผลกระทบต่อ ถนนที่กรมทางหลวงรับผิดชอบมีความยาวมากกว่า 5 หมื่นกม.กรมทางหลวงชนบทมีมากกว่า 3 เท่า เราจะกลับไปตรวจสอบอีกทีเรื่องขั้นตอนปฏิบัติให้ชัดเจนอีกที  เพราะการตั้งด่านแบบนี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนมาก

ทรงฤทธิ์ ชยานันท์
ทรงฤทธิ์ ชยานันท์

นายทรงฤทธ์ กล่าวว่า ปัจจุบันเราพยายามใช้วิธีใช้เครื่องมือตรวจสอบความเร็วแทนการตั้งด่าน  การให้การศึกษากับประชาชน การช่วยเหลือฉุกเฉิน การประชาสัมพันธ์ เราก็ทำอยู่ หากมองการแยกประเภทของถนน จะต่างจากของต่างประเทศ ทางมหาดไทยเองก็พยายามสกัดรถที่คนขับเมาแล้วขับ ไม่ให้ออกสู่ถนน  มันเป็นส่วนหนึ่งของที่มาของการตั้งด่าน  เราต้องมาดูกันว่าด่านต้องเป็นอย่างไร มีความถี่การตั้งอย่างไร  ถ้าเป็นพื้นที่ของกรมทางหลวง ในใบอนุญาตต้องระบุชื่อ และต้องดูว่า 1 ใบใช้ได้หลายครั้งหรือไม่  ส่วนการตั้งด่านต้องขออนุญาตหรือไม่นั้นต้องขอตรวจสอบอีกที และจะนัดแนะการพบปะกันเพื่อพบอธิบดีฯภายหลัง

 

พ.ต.อ.วิรุตม์   กล่าวเสริมว่า ผมเข้าใจว่าไม่มีการอนุญาตในการตั้งด่าน ไม่เช่นนั้นอธิบดีต้องรับผิดชอบ ถ้าอนุญาตให้วางสิ่งกีดขวางบนถนนได้ ประชาชนก็สามารถขอตากข้าวบนถนนได้

 

นายภพ ไตรยสุนันท์   นักวิชาการขนส่งชำนาญการ  กรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า  ปกติซึ่งเราปราบปรามคนกระทำผิดมันทำไปตามกฎหมายและนโยบาย ล่าสุดมีประเด็นต้นตอฝุ่น PM 2.5 จึงต้องเข้มงวดตรวจจับ ในเรื่องรถกับคน ซึ่งทำตามหลักการ จะตั้งโดยพลการไม่ได้ เราจะมี scout คัดกรองก่อนเมื่อตรวจพบเบื้องต้นก็จะส่งวิทยุให้สกัด อันที่จริงเจ้าหน้าที่ของเราก็เคยได้รับอุบัติเหตุ และผมก็เคยประสบเหตุด้วยตัวเอง เราจะแจ้งข้อกล่าวหาซึ่งก็เป็นการปรับ  ไม่ได้เดินรอบรถแล้วสร้างปัญหา

ใน พรบ.ที่เกี่ยวข้อคือ พรบ.รถยนต์   พรบ. ขนส่งทางบก  และในอำนาจบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจราจรทางบกที่พูดถึงผู้ตรวจการที่ได้รับการแต่งตั้งจาก รมต. คมนาคม   ในทางหลักการ ที่มาของการออกหนังสือ เชื่อว่าเรามีอำนาจจริง แต่เจ้าหน้าที่ของเรามีน้อย แต่ทางกรมการขนส่งทางบกทำหน้าที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ในการเปรียบเทียบปรับของนายทะเบียน  แล้วเอาเงินที่ได้จากการปรับไปแบ่งนั้น มันมีระเบียบ แล้วกรมการขนส่งไม่ได้ปรับสูงมาก และก็ต้องคำนึงถึงสังคมด้วย เพราะบางครั้งกระแสสังคมก็มองว่าเราปรับน้อย เราจะดูฐานเงินเดือนด้วย เราไม่ได้ต้องการให้เขาล้มละลาย ต้องการลงโทษเท่านั้น  ส่วนที่ถูกมองว่าเป็นอำนาจกึ่งตุลาการนั้นผมไม่ทราบ  สำหรับมาตรา 12 ไม่ได้กำหนดการเปรียบเทียบปรับไว้ แต่จะกำหนดไว้ใน มาตรา 14

ภพ ไตรยสุนันท์
ภพ ไตรยสุนันท์

“ในการตรวจควันดำซึ่งมองว่ารถมันตรวจสภาพประจำปีอยู่แล้ว ควรต้องตรวจสองรอบต่อปี  ต้องบอกว่าเป็นการดำเนินการตามนโยบาย บางครั้งรถที่ตรวจไปแล้วก็ต้องตรวจอีกเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีผลกระทบต่อส่วนรวม และมีรถที่ไปจัดการมา ไปดัดแปลงแก้ไขสภาพ ที่ยังทำให้มีควันดำอีก ปัจจุบันเราใช้เทคโนโลยีที่ตรวจสอบได้แม่นยำมากขึ้น”นายภพ กล่าว

 

นายอภิชาต ไพรรุ่งเรือง กล่าวว่า  ที่มีการกล่าวหาว่ามีการแต่งปั้มให้กำลังมันแรงขึ้นนั้น ผมยืนยันว่าไม่จริงเพราะมันแพง ไม่คุ้มกัน  และรถบรรทุกที่ขนส่งจะไม่วิ่งเร็วเพื่อให้น้ำมันเหลือ ไม่มีใครวิ่งเร็วเร่งเครื่องจนมิด และรถที่เป็นสมาชิกในสหพันธ์ จะไปเสียใบสั่งที่ไหนก็ได้ได้หรือไม่

 

นายภพ ไตรยสุนันท์   กล่าวว่า ท่านจ่ายค่าปรับที่ไหนก็ได้  แต่บางสถานที่ไม่มีข้อมูลในทุกที่ ต้องขอจากที่อื่น ผู้ที่ออกปฏิบัติหน้าที่แล้วถ้าไม่มั่นใจในเรื่องของ GPS จะให้ประสานไปที่สำนักงาน

 

นายอภิชาต ไพรรุ่งเรือง กล่าวว่า แจ้งว่าด่านควันดำ จะตั้งด่านต้องมีเจ้าหน้าที่เทศกิจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมปฏิบัติหน้าที่ด้วย   ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ถ้าเราจะเรียนแบบญี่ปุ่น เราต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้วยก่อน สภาวะอากาศ และน้ำมันเบนซินมันทำให้เกิดมลพิษด้วย ทางที่จะตรากฎหมายมามันต้องพร้อมด้วย  เช่นต่อไปนี้เราจะใช้รถยูโร 5  เวลาเข็มไมล์เรามันขึ้นอยู่ที่ 220 เราให้ออกมาวิ่งได้อย่างไร  เสียดายที่ตำรวจไม่มา  เราต้องจัดให้มีทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาตั้งวงเสวนากัน มันเป็นเรื่องของสุขภาพ เรื่องของอนาคตลูกหลานเรา อยากจะฝากว่า รถที่หนีด่านโดยไม่ผ่านด่านชั่ง เขาได้ทำการซื้อทางผ่านด้านข้าง แล้วเจ้าหน้าที่จะช่วยดูเวลา ปล่อยให้รถที่มีน้ำหนักเกินวิ่งผ่านไปได้  ดังนั้นทำให้บ้านเรามีถนนเสียหาย เป็นร่อง ทำให้เราเสียทรัพยากรมนุษย์เพราะอุบัติเหตุท้องถนน

 

“เรายังหย่อนยานในการใช้กฎหมาย ไม่ซื่อสัตย์ในการทำงาน การเสียชีวิตในช่วงเทศกาลยังคงเป็นเพราะถนนที่ไม่มีป้าย หรือไฟที่ชัดเจนว่าถนนข้างหน้าเป็นอย่างไร  บางทีรถบรรทุกก็วิ่งขึ้นข้างทาง   พวกเรารถบรรทุก 4 แสนกว่าคันเรามักจะหยุดไม่วิ่งในช่วงเทศกาลเพื่อให้ประชาชนวิ่งอย่างปลอดภัย อีกประการหนึ่งเรื่องการกินเหล้าแล้วขับรถย้อนศร ส่วนใหญ่เป็นคนพื้นที่ไม่ใช่คนต่างจังหวัดที่เสียชีวิตในแต่ละปี  และกรมทางหลวงชนบท เราก็อยากให้ดูแลรถผิดกฎหมายด้วยเพื่อไม่ทำลายถนน ไม่ใช่ปล่อยให้ซื้อสติ๊กเกอร์แล้วจะทำอะไรก็ได้”นายอิชาต กล่าว

 

นายธนภัทร อุทุมพันธ์   ผู้สื่อข่าวไทยวิจารณ์ กล่าวว่า  การอ้างเรื่อง PM 2.5 อยู่เสมอ แล้วเรียกเก็บเป็นรายเดือน ประชาชนไม่มั่นใจว่ามีการตรวจวัดอย่างถูกต้องหรือไม่  การเร่งคันเร่งเกินเหตุ กดซะมิด มันเกินความเป็นจริงแล้วทำให้ประชาชนผิดให้ได้  กรมขนส่งก็อนุญาตจดทะเบียนรถที่วิ่งมาระดับหนึ่ง แล้วมาจับควันดำเขา

ตำรวจตั้งด่านตรวจค้น

ผู้เข้าร่วมเสวนา แสดงความเห็นว่า    ประเด็นสำคัญของปัญหาที่ ตำรวจมุ่งเอาผิดประชาชน  เช่น การตั้งด่านแล้วเหยียบคันเร่งกดจมมิด ซึ่งประชาชนเขาไม่เคยทำกัน   และเรื่องรถป้ายแดงต้องเอาออกไปทำมาหากิน ก็ไม่ควรจับ  ยังเห็นว่าเจ้าหน้าที่เรายังเกรงใจกัน ไม่กล้าตอบคำถาม

 

ดร.ทองอยู่   กล่าวอีกว่า เจ้าหน้าตำรวจในท้องที่อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ กรมทางหลวง ไม่น่าจะทำหน้าที่ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย  เวลาปฏิบัติหน้าที่ ประชาชนเขาไม่เชื่อมั่น ตร.อีกเลย จึงต้องติดกล้อง ถ่ายมือถือ ทำคลิป สารพัด เพราะเขารู้สึกไม่ปลอดภัย  ทางตัวแทนกรมทางหลวง ต้องทำให้ถูกกฎหมาย เมื่อตั้งด่านแล้วก็ต้องเก็บ ประชาชนเขาต้องใช้พื้นผิวจราจร   และต้องตั้งมีเป้าหมายชัดเจน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่กลั้นแกล้งประชาชน  สินบน คือชี้เป้า ที่ผ่านมานั่งชี้เป้าทั้งวันทั้งคืนไม่ทำมาหากินเลยหรือเปล่า

 

“ผมเสนอให้ลดส่วนแบ่งรางวัลนำจับลง เพราะเป็นที่มาของการทำงานไม่สุจริต ตร.มีเงินเดือนอยู่แล้ว จะได้เงินสองเด้งสามเด้ง ได้อย่างไร ถ้ายกเลิกไม่ได้ก็ลดลงแล้วเอาเงินไปซ่อมถนน ลดอุบัติเหตุ เป็นกองทุนพัฒนาช่วยเหลือประชาชน    ใน พรบ. จราจร 2562 บางเรื่องสร้างภาระให้ประชาชน ขอให้ยกเลิกด่านทั้งหมด แล้วใช้ระบบตั้งกล้องใช้เทคโนโลยีให้เป็น Thailand 4.0 ส่วนการตั้งกล้องถาวร ต้องตรวจดูว่ามันถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่  ตร.ต้องปรับภาพลักษณ์ให้มากขึ้น ไม่เช่นนั้นท่านจะอยู่ในสังคม social ยากมากขึ้น  ตร.ทางหลวงระยะหลังพูดจาดีขึ้น ถ้ารัฐไม่สร้างภาระให้พี่น้องประชาชน สุขภาพจิตก็จะดีขึ้น”ดร.ทองอยู่กล่าว

ตำรวจตั้งด่านตรวจค้น

พ.ต.อ.วิรุตม์    กล่าวเสริมว่า  มีคนถามว่าประเทศไทยมีด่านมากเท่าใด  ก็ขอบอกว่า  “หนึ่งโรงพัก อย่างน้อย 1 ด่าน”  มี 1,460 โรงพัก ก็มี 1,460 ด่าน  ตั้งกันยันทางไปนา เช่นที่ จว.สกลนคร การตั้งด่านแล้วเกิดอุบัติเหตุ ยังไม่เคยมีคดีไปถึงศาลฎีกา คนเลยไม่แน่ใจว่าชอบหรือไม่ชอบ  ระหว่างตำรวจกับคนขับรถ ใครต้องชดใช้ส่วนเรื่องรางวัลค่าปรับ เป็นประโยชน์ทับซ้อน  ปรับมากได้มาก  แล้วเขาจะปรับในอัตราต่ำและเป็นธรรมตามพฤติการณ์ได้อย่างไร?

รางวัลในการทำงานราชการมีสำหรับบางความผิดที่จับยาก เช่นศุลกากร  เมื่อการทำแค่ตั้งกล้องถ่ายภาพและเรียกไปปรับ เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง  ที่บอกจะยกเลิก ก็ได้แต่พูดเท่านั้น  ตำรวจผู้ใหญ่ไม่ต้องการทำจริง  ตำรวจระดับล่างได้เงินไม่มาก  แต่ทำยอดให้เจ้านายรวย  การตั้งด่านแล้วขึ้นไปค้นรถสิบล้อโดยพละการ ส่องหายาแล้วเจอ 1 เม็ดนั้น ถ้าทำเช่นนี้ทุกคัน ประชาชนจะเดือดร้อนแค่ไหน  แต่ละคันแต่ละคนต้องเสียเวลามากมาย ซ้ำไม่ใช่ยาเสพติดของตัวเองอีกด้วย

“ปัจจุบันยังมีการจำหน่าย “ส่วยสติ๊กเกอร์” มีการส่งไลน์แจ้งด้านชั่งเคลื่อนที่ของกรมทางหลวง แต่ละวันจะไปไหน ให้หลีกเลี่ยง การปฏิบัติงานของทางหลวง แจ้งให้ตำรวจรู้ไม่ได้  ในช่วงเทศกาล 7   วันอันตราย (อันที่จริงอันตรายทุกวัน) เราใช้งบประมาณมากมาย  เอางบไปทำป้ายเครื่องหมายบนผิวทาง ก็จะลดอุบัติเหตุได้มากกว่าเยอะ  โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ซึ่งเสียหลักง่ายเมื่อสภาพถนนมีปัญหาเป็นคลื่นหรือแม้กระทั่งหลุมบ่อ!”พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าว

ดร.ทองอยู่  กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่าให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีผลประโยชน์ทับซ้อน ขอให้ดูระเบียบกระทรวงยุติธรรม เกี่ยวกับเรื่องทางหลวง  และระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ตำรวจตั้งด่าน

About The Author