เปิดบทสรุปกก.ชุด’วิชา’ชงใช้ระบบไต่สวน-เร่งนำร่างพรบ.ตร.ชุด’มีชัย’เข้าสภา
เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน และคณะกรรมการ ได้เข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เพื่อนำผลสรุปแนวทางปฏิรูปกฎหมายในระบบกระบวนการยุติธรรม เสนอนายกฯ
สำหรับ บทสรุป รายงานผลการตรวจสอบข้อกฎหมายเพื่อนาไปสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมของคณะกรรมการฯ มีรายละเอียดดังนี้
ตามที่ได้มีคำสั่งสานักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๒๕/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓ แต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความ สนใจ ของประชาชน (ซึ่งต่อไปเรียกว่า “คณะกรรมการ”) โดยคาสั่งดังกล่าวมีผลใช้ บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม๒๕๖๓ และในข้อ ๓ ได้กำหนดให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงและ ข้อกฎหมายในคดีดังกล่าวและเสนอแนะแนวทางเพื่อนาไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือ วิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ เพื่อประโยชน์ในด้านการพัฒนาองค์ความรู้การปฏิบัติหน้าที่ และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ตลอดจน เสนอข้อแนะนาอื่นใดโดยไม่ก้าวล่วงหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ในคดีดังกล่าว แล้วรายงาน นายกรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วัน นับแต่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ
ทั้งนี้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว คณะกรรมการได้เสนอรายงาน ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต่อนายกรัฐมนตรีแล้ว และ นายกรัฐมนตรีได้เห็น ชอบให้ขยายระยะเวลาต่อไปอีก ๓๐ วัน เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาจัดทำข้อเสนอแนะสำคัญเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมโดยเร่งด่วน นั้น
คณะกรรมการเห็นว่า ข้อเท็จจริงจากคดีอาญากับนายวรยุทธ (บอส) อยู่วิทยา ได้แสดง ให้ เห็นถึงปัญหาบางประการที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนที่มีต่อกระบวน การยุติธรรม ทางอาญา และอาจมีผลกระทบต่อเนื่องไปยังหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม ซึ่งเป็น เสาค้าจุนความสงบเรียบร้อยของสังคมได้ ดังนี้
ประการที่หนึ่ง การที่งานสอบสวนของตำรวจขาดความเป็นอิสระในการทางาน ถูกแทรกแซง จากผู้บังคับบัญชาและอิทธิพลภายนอกของบุคคลที่ประพฤติมิชอบได้โดยง่าย เปิดโอกาสให้เกิดการทุจริตเพื่อบิดเบือนความจริงและพยานหลักฐานได้อย่างเบ็ดเสร็จ
ประการที่สอง การสอบสวนคดีอาญาของพนักงานสอบสวนและการฟ้องร้องคดีของอัยการ ขาด ความเชื่อมโยงและความร่วมมืออย่างเป็นเอกภาพ
ประการที่สาม ระบบกฎหมายมีช่องโหว่ให้กระบวนการสอบสวนและฟ้องร้องคดีดำเนินไป อย่างล่าช้าโดยไม่มีข้อจำกัดหรือระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพ
ประการที่สี่ ความเหลื่อมล้ำของคนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจหรือสถานะทางสังคมที่แตกต่างกันในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทำให้สังคมเชื่อว่าความยุติธรรมสามารถซื้อได้และคุกมี ไว้ขังคนจน
ประการที่ห้า ระบบกฎหมายเปิดช่องให้เจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมทุจริตและประพฤติมิชอบ
ประการที่หก กระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยเฉพาะการสอบสวน ล้าสมัยไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
คณะกรรมการเห็นว่า ในการแก้ไขข้อบกพร่องข้างต้น หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะต้อง ยึด ถือหลักมาตรฐานสากลในการดำเนินคดีที่เป็นธรรม ต้องมีการปรับโครงสร้างการสอบสวนให้มีความเป็นอิสระ เพื่อลดการแทรกแซงจากผู้บังคับบัญชาและอิทธิพลภายนอก โดยการแยกสาย งานสอบสวน ให้เป็นสายงานเฉพาะจากฝ่ายป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและให้มีหลักประกันความเจริญก้าวหน้าในสายงาน จะต้องดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้การสอบสวนฟ้องร้องเป็นกระบวนการเดียวกันที่มีความเป็นเอกภาพ และลดโอกาสการทุจริต ลดระยะเวลาในการดำเนินการ ตลอดจน จะต้องเร่งดำเนินการ
แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนฟ้องร้องคดีอาญาที่ล้าสมัยและไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สรุปได้ดังนี้
๑.ร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ….
คณะกรรมการเห็นสมควรปฏิรูปตำรวจให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในมาตรา ๒๕๘ ง. ด้าน กระบวนการยุติธรรม (๔) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ซึ่ง กำหนดให้ ข้าราชการตำรวจมีหลักประกันและได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้าย โดยจะต้องนำเกณฑ์อาวุโสและเกณฑ์ความรู้ความสามารถพิจารณาประกอบกัน และให้มีการแยกสายงานอย่างชัดเจน เพื่อให้งานสอบสวนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสามารถปฏิบัติงานได้อย่างอิสระ โดยไม่ถูก ครอบงาหรือแทรกแซงโดยผู้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริตหรือใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบได้โดยง่าย ทั้งนี้ เป็นหลักการที่ปรากฏในร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. …. ที่ยกร่างโดยคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๒๖๐ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักร ไทย ที่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ….และร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. …. (แต่งตั้งตามคาสั่งสานัก นายกรัฐมนตรี ที่ ๒๐๓/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๒)
๒. ร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. ….
คณะกรรมการมีมติสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. …. ที่ ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามคาสั่งสานักนายกรัฐมนตรีที่ ๒๐๓/๒๕๖๒ เนื่องจากมี หลักการที่สอดคล้องกับแนวทางในการแก้ไขข้อบกพร่องของกระบวนยุติธรรมทาง อาญาที่คณะกรรมการได้นำเสนอข้างต้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. …. มีความครบถ้วนสมบูรณ์ คณะกรรมการขอเสนอแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. …. ในบางประเด็น ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ระบุมาตรฐานของการพิจารณาคดีอาญาที่เป็นธรรมตามหลักสากลไว้ในเจตนารมณ์ของร่างกฎหมายดังกล่าว
(๒) เพิ่มเรื่องการร้องขอความเป็นธรรมในชั้นพนักงานอัยการให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
(๓) เพิ่มบทบาทของศาลในการตรวจสอบถ่วงดุลในกรณีที่เกิดความขัดแย้งระหว่าง พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ
(๔) ควรกำหนดให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนในคดีบางประเภทที่ต้องดำเนินการสอบสวนร่วมกับพนักงานอัยการในลักษณะเป็นองค์คณะ
๓. ร่างกฎหมายเกี่ยวกับนิติวิทยาศาสตร์
คณะกรรมการมีมติสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติระบบนิติวิทยาศาสตร์แห่งชาติ พ.ศ. …. ของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม และร่างพระราช บัญญัติการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ของกระทรวงยุติธรรม เพื่อให้ การพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีอาญา โดยกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ เป็นไปตามมาตรฐานสากล ประชาชนเข้าถึงได้โดยง่าย มีความถูกต้องโปร่งใส เที่ยงตรง และป้องกันการผูกขาดการตรวจพิสูจน์ของสานักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สานักงานตำรวจแห่งชาติ ที่อาจถูกแทรกแซงโดยเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลที่กระทำการโดย ทุจริตหรือใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
๔. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดาเนินงานในกระบวนยุติธรรม พ.ศ. ….
คณะกรรมการมีมติสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดาเนินงานในกระบวน ติธรรม พ.ศ. …. ของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมมีความชัดเจนเพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรม โดยไม่ล่าช้า
๕. ระเบียบสานักงานอัยการสูงสุดและระเบียบคณะกรรมการอัยการ
คณะกรรมการเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบสานักงานอัยการสูงสุดว่าด้วย การดำเนินคดี อาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยเพิ่มประเด็นดังต่อไปนี้
(๑) ในการมอบอำนาจของอัยการสูงสุด หากจะมีการมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุดพิจารณาสั่งคำร้องขอความเป็นธรรมและพิจารณาสั่งคดีนั้นด้วย ก็ต้องมีการระบุการมอบอำนาจนั้นให้ปรากฏ อย่างชัดเจนในคาสั่งมอบอำนาจ
(๒) ในเรื่องใด หากได้มีคาสั่งของรองอัยการสูดสุดคนหนึ่งเป็นประการใดไปแล้วการทบทวนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นต้องเสนออัยการสูงสุดเป็นผู้สั่ง
๖. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คณะกรรมการมีความเห็น ดังนี้
(๑) ให้ยกเลิกมาตรา ๑๔๕/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เนื่องจาก เป็นบทบัญญัติที่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่มีอำนาจในการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญา ของฝ่ายตำรวจเอง อันเป็นการขัดต่อหลักการถ่วงดุลอำนาจระหว่างเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
(๒) เห็นควรสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้าน กระบวนการยุติธรรม เฉพาะส่วนที่มิได้นำไปรวมไว้ในร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดี อาญา พ.ศ. ….
(๓) สมควรให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการแก้ไขกระบวนพิจารณาคดีอาญาจาก ระบบกล่าวหาเป็นระบบไต่สวน เพื่อการค้นหาความจริงที่รอบด้านยิ่งกว่าระบบที่ได้วางไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กล่าวโดยสรุป คณะกรรมการเห็นว่า คณะรัฐมนตรีควรเสนอร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. …. ซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยคำสั่งสานักนายกรัฐมนตรีที่ ๒๐๓/๒๕๖๒ให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติโดยเร็วที่สุดโดยคณะกรรมการเชื่อว่า หากได้มีการประกาศและบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับตามหลัก การและเจตนารมณ์แห่งการร่างแล้ว วิกฤตการณ์ทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นี้จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 22 ส.ค.2562 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 203/2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. … และร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. ….ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธ์ุ เป็นประธานฯ และได้ส่งร่างพ.ร.บ.ทั้ง2 ฉบับให้นายกรัฐมนตรีแล้ว แต่นายกฯกลับส่งร่างพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาก่อนเสนอเป็นร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่ผ่านมติครม.เมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งหลายฝ่ายระบุว่าต่อขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 258 และ260